การสร้างสตาร์ทอัพ#0 : แนวคิดสตาร์ทอัพจุลภาค(Micro Startup) เริ่มจากเล็กๆไปสู่ใหญ่

DINOQ Co.,Ltd
5 min readSep 17, 2018

DinoQ , 2018/09 ( info@dinoq.com )

จะเริ่มจากขอกล่าวขอบคุณ และยินดีต้อนรับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน นะครับ

ก็ต้องออกตัวไว้ก่อนนะครับ ว่ามันคือแนวคิดส่วนตัวของผู้เขียนเอง ซึ่งคิดว่ามันน่าจะเป็นไปได้ ด้วยหลักเหตุและผล ใครอ่านแล้วไม่เห็นด้วยก็ไม่ว่ากันนะครับ ความตั้งใจหลักของผู้เขียนคือเขียนบทความเพื่อถ่ายทอดความรู้ที่มีมา ถ้ามีคนอ่านและเห็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้จริง ก็จะทำให้ผู้เขียนรู้สึกมีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นต่อๆไปนะครับ

อันดับแรกเรามารู้จัก สตาร์ทอัพ(Startup) กันก่อนดีกว่า

สตาร์ทอัพ(Startup) เป็น บริษัท หรือองค์กรทางธุรกิจประเภทนึง ที่ถูกผลักดันด้วยนวัตกรรม(Innovation) ที่ใช้เทคโนโลยี(Technology)ใหม่ๆเป็นพื้นฐาน ซึ่งสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด ระดับ 5 เท่า หรือ 10 เท่า ต่อปี (ผมจะไม่แยกระหว่างคำว่า Startup กับ Tech Startup นะครับ เพราะบางที่นำเสนอสองคำนี้มีความหมายต่างกัน ซึ่งผมมองว่า Startup มันก็คือ Tech Startup นั่นแหละ)

โดยมากบริษัทสตาร์ทอัพ จะถูกก่อตั้งจากคนรุ่นใหม่ที่มีหัวก้าวหน้า โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ และแนวคิดการการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อสร้างรูปแบบทางธุรกิจ(Business Model)แบบใหม่ๆ, ผลิตภัณฑ์(Product)แบบใหม่ๆ, ตลอดจนระบบนิเวศน์ของผลิตภัณฑ์(Ecosystem) แบบใหม่ๆ เช่น วงจรการผลิตสินค้า, การจัดหาวัตถุดิบ, การตลาด, การขาย, การจัดส่ง ตลอดจน บริการหลังการขาย

เพื่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจมากกว่าคู่แข่ง ไม่ว่าจะเป็นการทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ ถูกกว่า(Cheaper), คุณภาพดีกว่า(Better quality), การใช้งานเหมาะสมกว่า(Suitable), ปรับเปลี่ยนได้ดีกว่า(Better customization), บริการหลังการขายดีกว่า(Better after sell support), ส่งของได้เร็วกว่า(Deliver faster), ตอบรับความสามารถในอนาคตดีกว่า(Support future)

สตาร์ทอัพไม่ใช่เรื่องใหม่ มันเป็นสิ่งที่มีมาเป็นสิบปีแล้ว แต่เพิ่งมาเป็นกระแสร้อนแรงในช่วง ห้าหกปีที่ผ่านมาเพราะ เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย เช่น Big Data, Machine Learning, Block-chain หรือแม้กระทั่ง Mobile ทำให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีไอเดียร์ใหม่จับเทคโนโลยีใหม่ๆเหล่านี้ สร้างเป็นสตาร์ทอัพขึ้นมาและประสบความสำเร็จมากมาย คนทำให้นักศึกษารุ่นใหม่ ที่มองเห็นช่องทางใหม่ๆ น่าตื่นเต้น น่าสนใจมากกว่าแนวทางในการทำงานกับบริษัทในรูปแบบเก่า เริ่มหันมาสนใจทำสตาร์ทอัพกันมากขึ้น

ซึ่งจริงๆ แนวคิดการทำสตาร์ทอัพมันก็คือ การสร้างธุรกิจ หรือสร้างบริษัทนั่นแหละ โดยที่สตาร์ทอัพมันจะต้องมีอัตตราการเจริญเติบโตมากๆ ต่อปี เช่น 5 เท่า หรือ 10 เท่า เพื่อดึงดูดเงินนักลงทุน แล้วเอาเงินนั่นแหละมาสร้าง การเจริญเติบโต ขึ้นๆไปอีก และ ดูดเงินนักลงทุนมากๆขึ้นไปอีก จนโตพอที่จะเข้าตลาดหุ้น หรือ ขายธุรกิจ

นั่นคือ หัวใจหลักของบริษัทสตาร์ทอัพ คือ การทำให้โต กับ การขอเงินนักลงทุน ทำวนไปเรื่อยๆ

แล้วแนวคิดสตาร์ทอัพจุลภาค(Micro Startup) หล่ะ มันคืออะไร

ปกติสตาร์ทอัพมักจะถูกก่อตั้งจาก กลุ่มคนหลักๆ คือ คนเก่งธุรกิจ คนเก่งเทคโนโลยี ส่วนความรู้อื่นๆ เช่น นักกฏหมาย นักบัญชี นักการตลาด หรืออื่นๆ เอาไว้หาทีหลัง ซึ่งความรู้ทั้งหลายนี้ อาจรวมอยู่ในตัวผู้ก่อตั้งคนเดียวก็เป็นได้

ซึ่งแนวคิดสตาร์ทอัพจุลภาค เป็นแนวคิดที่จะพยายามให้สตาร์ทอัพสามารถก่อตั้งได้จาก คนเก่งธุรกิจ เพียงแค่คนเดียวเท่านั้น โดยเรื่องของเทคโนโลยี ปล่อยให้ พันธมิตรที่เชี่ยวชาญหรือใช้แพลตฟอร์มสำเร็จรูปช่วยจัดการให้ พูดง่ายๆคือ พันธมิตรที่เชี่ยวชาญหรือใช้แพลตฟอร์มสำเร็จรูปจะช่วยสร้างระบบในเวลาที่รวดเร็วให้แก่ คนเก่งธุรกิจที่เป็นเจ้าของบริษัทสตาร์ทอัพนี้นี่เอง

การเติบโตของสตาร์ทอัพ

การเติบโตในระดับ 5 เท่า หรือ 10 เท่าต่อปีนี้เป็นอัตตราเจริญเติบโตที่ถือว่าไม่ธรรมดามากๆ ซึ่งการเจริญเติบโตมากขนาดนี้แน่นอนว่า จะต้องมีผลกระทบกับธุรกิจอื่นๆ ที่มีลูกค้าเป็นกลุ่มเดียวกัน หรือเรียกว่าอยู่ในตลาดเดียวกัน เมื่อมีคนได้เปรียบก็ย่อมมีคนเสียเปรียบดังนั้น เมื่อมีบริษัทที่เจริญเติบโตมาก ก็ต้องมีบริษัทที่หดตัวมาก หรือยอดขายลดลงมาก ซึ่งการเกิดสถานการณ์แบบนี้เราจะเรียกว่า ตลาด หรือธุรกิจนี้ถูก ทำให้เสียกระบวน หรือเสียระบบ(Disrupt)

การทำให้ตลาด หรือธุรกิจเกิดการเสียกระบวน หรือเสียระบบได้นั้นไม่ใช่ง่ายๆ โดยมากบริษัทสตาร์ทอัพ ที่สามารถทำให้เกิดสถานการณ์แบบนี้ได้ มักจะเป็นความลงตัวของ รูปแบบทางธุรกิจ(Business Model)ใหม่, เทคโนโลยี(Technology)ใหม่ ที่ผลักดันให้เกิดระบบนิเวศน์ของผลิตภัณฑ์(Ecosystem)ใหม่ จนทำให้ธุรกิจในรูปแบบเดิมถูกทำให้เสียกระบวน หรือเสียระบบ จนไม่สามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้

ตัวอย่าง เช่น Google เจ้าของระบบค้นหา(Search Engine)เบอร์หนึ่งของโลก สมัยแรกๆที่เข้าตลาดยังไม่โด่งดังนั้น ซึ่งมีระบบค้นหาเจ้าอื่นๆครองตลาดอยู่ไม่ว่าจะเป็น Yahoo, Altavista หรือเจ้าอื่นๆ เป็นต้น แต่ Google ได้เป็นคนต้นคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี หลายตัว ไม่ว่าจะเป็น ต้นแบบของ NoSQL, ต้นแบบของระบบ Hadoop ซึ่งเป็นหัวใจหลักของระบบค้นหาของ Google ทำให้โดดเด่นเหนือคู่แข่ง เช่น ค้นหาข้อมูลได้รวดเร็ว และแม่นยำ, เก็บข้อมูลได้มหาสาร ทำให้ธุรกิจระบบค้นหาถูกทำให้เสียกระบวน หรือเสียระบบ(Disrupt) จนสุดท้ายผู้ใช้แห่ไปใช้ระบบค้นหาของ Google จนหมดทุกคน

จะเห็นว่าหัวใจหลักของบริษัทสตาร์ทอัพ ก็คือเทคโนโลยีที่จะช่วยให้มีโอกาสทางธุรกิจเหนือกว่าคู่แข่งจนสามารถทำให้ธุรกิจนั้นถูกทำให้เสียกระบวน หรือเสียระบบ(Disrupt)ได้ และเทคโนโลยีนี้ก็เป็นงบประมาณก้อนโตที่ทุกๆบริษัทสตาร์ทอัพต้องเสียเงินลงทุนไปกว่า 70%-80% ของงบประมาณบริษัททั้งหมดเลยทีเดียว

และโดยมากจะเป็นเงินก้อนแรกๆที่ถูกใช้ในการสร้างบริษัทสตาร์ทอัพ

ก่อนคุยกันต่อเรื่องงบประมาณของบริษัทสตาร์ทอัพ ผมขอพาไปดูขั้นตอนการเติบโตของบริษัทสตาร์ทอัพก่อนนะครับ เท่าที่ผมมีความรู้บริษัทสตาร์ทอัพจะมีลำดบขั้นตอนการเกิด ดังต่อไปนี้

ลำดับที่ 1 สถานะเริ่มก่อตัว (Initial) คือสถานะการเริ่มก่อตัวของคนไม่กี่คน ที่เกิดไอเดียร์ในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ จะทำร่างไอเดียร์ให้จัดเจนแล้วทำการทดสอบ(Proof of Concept)ไอเดียร์ว่าสามารถทำได้จริง มีลูกค้า มีตลาดที่ใหญ่พอที่จะรองรับการขยายตัว ในช่วงนี้จะเป็นการระดมสมองของทีมและยังไม่ต้องใช้เงินมาก อาจเป็นแค่ระบบจำลองไอเดียร์ลงบนกระดาษ หรือไม่ก็ทำระบบง่ายๆ เล็กๆ เพื่อทดสอบ ยังไม่ต้องการนักลงทุนสนับสนุนทางด้านการเงิน โดยมากมักจะใช้เงินตัวเองในการลงทุน

ลำดับที่ 2 สถานะตัวอ่อนหรือเมล็ด (Seed) คือ มีแผนธุรกิจชัดเจน เริ่มทำการพัฒนาระบบต้นแบบ หรือเทคโนโลยีต้นแบบ เพื่อนำไปใช้จริงกับลูกค้าบางส่วน ในช่วงนีจำเป็นจะต้องมีเงินก้อนเข้ามาเพื่อใช้พัฒนาระบบต้นแบบ เพื่อใช้กับลูกค้าจริงๆ อาจได้มาจากเงินได้เปล่าจากกองทุนสนับสนุน หรือ เป็นเงินที่ผู้ร่วมก่อตั้งช่วยกันออกเองก่อน อาจจะเป็นหลัก แสน หรือ หลายล้านบาท ขึ้นอยู่กับความต้องการของระบบ แต่ปกติไม่น่าเกิน 3 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้ระบบยังไม่มีลูกค้าเลยเป็นเงินที่มีความเสี่ยงสูงมาก

ลำดับที่ 3 สถานะเริ่มทำตลาด (Early) คือ โฟกัสที่ลูกค้าตลาดกลุ่มชอบทดลองก่อน โดยมากจะเป็นลูกค้าที่ชอบทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่อยู่เสมอ ขนาดตลาดประมาณ 10% ของลูกค้าทั้งหมด ในช่วงนี้คือช่วงที่นักลงทุนมักเข้ามาโดยอาจเข้ามาในรูปแบบโครงการบ่มเพาะบริษัทสตาร์ทอัพ มีช่วงเวลาแน่นอน เช่น ใช้เวลา 2 เดือน หรือ 3 เดือน หลังจากจบโครงการมักจะขอลงทุน และขอหุ้นบริษัทไปส่วนหนึ่ง ซึ่งโดยมากจะขอลงทุน 1 ล้าน ถึง 5 ล้านบาท แลกกับหุ้นไม่น่าเกิน 10%-15%

ลำดับที่ 4 สถานะเจริญเติบโต (Growth) คือ เข้าถึงลูกค้ากลุ่มชอบทดลองใช้ได้แล้ว ทำการโฟกัสถัดไปที่ลูกค้าตลาดกลุ่มแรก ขนาดตลาดประมาณ 30% ของลูกค้าทั้งหมด ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่นักลงประเภท Venture Capital จะเข้ามา ส่วนมากเงินลงทุนจะมากกว่าบริษัทแรกเยอะ เพราะปกติสถานะนี้บริษัทก็จะโต และมีมูลค่าเยอะขึ้นมาก ซึ่งโดยมากบริษัทสตาร์ทอัพที่มาถึงช่วงนี้จะอยู่แถวๆ 100–200 ล้านบาท และจะขอลงทุน 10 ล้าน ถึง 50 ล้านบาท แลกกับหุ้นไม่น่าเกิน 10%-25%

ลำดับที่ 5 สถานะเข้าถึงตลาดหลัก (Maturity) คือ เข้าถึงลูกค้ากลุ่มแรกได้แล้ว ทำการโฟกัสถัดไปที่ลูกค้าตลาดกลุ่มหลัก ขนาดตลาดประมาณ 60% ของลูกค้าทั้งหมด ซึ่งในสถานะนี้อาจมีการระดมทุนอีกหลายๆรอบ เพื่อเพิ่มศักยภาพของบริษัทเพื่อรองรับลูกค้าได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในทางสตาร์ทอัพ จะเรียกการระดมทุนในสถานะนี้เป็นซีรี่(Series) เช่น ซีรี่ B, ซีรี่ C, ซีรี่ D ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะ Exit ซึ่งการ Exit เป็นไปได้ทั้ง เข้าตลาดหุ้น หรือ ถูกซื้อจากบริษัทอื่น

จากลำดับที่ขั้นตอนทั้ง 5 ของบริษัทสตาร์ทอัพ จะพอวิเคราะห์ได้ว่า

สถานะที่เหมาะแก่การระดมทุนเงินก้อนใหญ่ที่สุด คือ ลำดับที่ 4 สถานะเจริญเติบโต (Growth) เพราะในสถานะนี้จะเห็นภาพลูกค้า และการเติบโตชัดเจน ซึ่งทำให้ประเมิณรายได้ได้ชัดเจนน่าเชื่อถือ จะส่งผลให้มูลค่าบริษัท(Company Valuation)ประเมิณได้ค่าสูงสุดเต็มประสิทธิภาพของบริษัท

สถานะที่เสี่ยงมากที่สุดในการทำบริษัทสตาร์ทอัพ คือ ลำดับที่ 2 สถานะตัวอ่อนหรือเมล็ด (Seed) และ ต่อไปยัง ลำดับที่ 3 สถานะเริ่มทำตลาด (Early) ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงยากลำบากมากของบริษัทสตาร์ทอัพ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ยังไม่พร้อม ลูกค้ายังไม่มีจริง ทุกอย่างเกิดจากการทดลอง และประเมิณ ทิศทางบริษัทในช่วงนี้ยังไม่มีความชัดเจน สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา สามารถเกิดอาการท้อถอยได้ง่ายๆ นอกจากนั้นช่วงนี้เป็นช่วงที่ยังไม่มีรายได้เข้ามา และต้องผลาญเงินไปกับเทคโนโลยีเพื่อการสร้างระบบด้วย รวมถึงความไม่ชัดเจนของการประเมินรายได้ ทำให้ระดมทุนได้ยาก ถึงจะได้มูลค่าบริษัทก็ได้น้อยจนอาจไม่คุ้มกับสิ่งที่ต้องลงทุนไป

หลังจากทดลองตลาด และลูกค้า จาก ลำดับที่ 1 สถานะเริ่มก่อตัว (Initial) เรียบร้อยแล้ว งบประมาณมากกว่า 70%-80% จะลงไปกับเทคโนโลยีเพื่อการสร้างระบบ ในลำดับที่ 2 สถานะตัวอ่อนหรือเมล็ด (Seed) และ การปรับระบบตามความต้องการของลูกค้าจริงๆใน ลำดับที่ 3 สถานะเริ่มทำตลาด (Early) นั่นคือเงินลงทุนถึง 80% ในสามขั้นตอนแรก(รวมถึงเวลาที่ต้องเสียไปในการพัฒนาระบบด้วย)จะลงไปกับเทคโนโลยีเพื่อการสร้างระบบ

นั่นเป็นสิ่งที่บอกว่า สิ่งที่ผลาญเงินและเวลาในการเริ่มทำบริษัทสตาร์ทอัพ นั่นคือเทคโนโลยีที่นำมาใช้เพื่อการสร้างระบบนั่นเอง

ยิ่งหากตัวผู้ก่อตั้งเองไม่มีความรู้ทางเทคโนโลยีเลย ยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงเป็นเท่าทวี เพราะการใช้เทคโนโลยีในสตาร์ทอัพ มันไม่ใช่แค่การซื้อระบบ หรือแค่จ้างทำ มันคือการผสานเทคโนโลยี เข้ากับรูปแบบของธุรกิจ(Business Model) ซึ่งมันเป็นไปได้สูงมากที่จะมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา

รวมถึงคนที่ออกแบบเทคโนโลยีให้ต้องมีความเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง ซึ่งบางอย่างอันอาจคือ ความลับ หรือไม้ตายของสตาร์ทอัพเอง จึงควรเลือกผู้เชี่ยวชาญที่สามารถไว้ใจได้ มาเข้าร่วมในการก่อตั้งธุรกิจ

ฉนั้นการสร้างสตาร์ทอัพตามแบบคนขี้เกียจ และไม่มีตังค์ จะต้องหาทางลดค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไปในช่วงนี้ให้ได้ ซึ่งเทคโนโลยีของคนขี้เกียจ และไม่มีตังค์ ต้องทำได้ง่ายๆ ใช้เวลาน้อยๆ และที่สำคัญต้องมีค่าใช้จ่ายน้อยด้วย เพราะไม่ค่อยมีตังค์นั่นเอง

ลองคิดเล่นๆ ดูนะครับ

ผมมีไอเดียร์ธุรกิจเจ๋งๆ หล่ะ ร่วมคิดกับเพื่อนอีก 2 คน แต่เราเป็นกลุ่มคนธุรกิจล้วนๆ ใช้เครื่องมือแพลตฟอร์มสำเร็จรูปไดโนคิว(DinoQ) ทำระบบทดลองไอเดียร์ (Prototype) ง่ายๆไม่ต้องใช้ความรู้มากมาย เพื่อทดสอบไอเดียร์ ใช้เวลา 1 อาทิตย์ ใช้ฟรีไม่เสียตังค์

เออมันเวิร์กหล่ะ มันทำให้เราสามารถเข้ามาอยู่ในโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ ที่มีระยะเวลา 3 เดือนได้ เราทำสัญญาให้ แพลตฟอร์มไดโนคิว(DinoQ) เข้ามาเป็นหุ้นส่วน ซึ่งเค้าขอหุ้น 15% ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆในช่วงนี้ แล้วแพลตฟอร์มไดโนคิว(DinoQ) ทำระบบให้เราเสร็จในเดือนเดียว เปิดใช้บริการระบบมีลูกค้าเพิ่มทุกๆวัน และเราก็ส่งความต้องการให้ทางแพลตฟอร์มไดโนคิว(DinoQ) ทำการปรับเปลี่ยนตามธุรกิจเราทุกวัน

จบโครงการ เราได้เงินก้อนมา 1 ล้านบาท อาจไม่มาก เราเสียหุ้นไป 20% ให้ แพลตฟอร์มไดโนคิว(DinoQ) 15% และ เจ้าของโครงการบ่มเพาะ 5% โดยที่มูลค่าบริษัทของเราอยู่ที่ 20 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้เรายังคงใช้แพลตฟอร์มไดโนคิว(DinoQ)ฟรีอยู่

สองเดือนต่อมาแพลตฟอร์มไดโนคิว(DinoQ) แก้ระบบติดต่อลูกค้าให้เราใหม่ จากลูกค้าหลักร้อยต่อเดือน กลายเป็นหลายพันต่อเดือน ซึ่งเรายังคงใช้แพลตฟอร์มไดโนคิว(DinoQ) ฟรีอยู่

หกเดือนต่อมาเราขอเงินจากนักลงทุนได้เพิ่มอีกกว่า 20 ล้านาท และ มูลค่าบริษัทของเราตอนนนี้มากกว่า 100 ล้านบาแล้ว ซึ่งตอนนี้เราต้องจ่ายค่าเช่าใช้งาน แพลตฟอร์มไดโนคิว(DinoQ) แล้ว ซึ่งทางแพลตฟอร์มไดโนคิว(DinoQ) แจ้งเรามาว่าเป็นราคาในรูปแบบหุ้นส่วนธุรกิจเพราะต้องขยายระบบเพื่อรองรับลูกค้าจำนวนมาก

จะเห็นว่าจากด้านบน ขั้นตอนสุดท้ายมันคือ ขั้นตอนที่ 4 สถานะ Growth เป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การระดมทุนที่สุด ซึ่งก่อนหน้านั้นผมแทบไม่ได้ใช้เงินเลย

แค่แนวคิดครับ แต่มันเป็นแนวคิดที่อยากผลักดันให้มันเป็นไปได้จริง ซึ่งในบทความลำดับถัดๆไป ก็จะเริ่มลงรายละเอียดในแต่ละขั้นในการสร้างสตาร์ทอัพไปตามลำดับ ตามแผนผังด้านล่าง นะครับ

ซึ่งในบทความ บทที่ 0 นี้จะแค่ชี้ให้เห็นว่า เราต้องการนำเสนออะไร และบทความต่อๆไปจะเป็นการนำเสนอ ขั้นตอนอย่างละเอียด และเป็นขั้นตอนในการสร้างบริษัทสตาร์ทอัพ

ท้ายสุด.. บทความชุดนี้ ผมจะพยายามเขียนให้ออกมาได้อาทิตย์ละ 1 บทความ หากมีหัวข้อใหนยาวมากๆ ก็จะแบ่งเป็นตอนย่อยๆ นะครับ

ขอบคุณที่ติดตามอ่าน นะครับ

ดูบทความอื่นๆ กดลิ้งค์เลยครับ

--

--

DINOQ Co.,Ltd

ไดโนคิวแพลตฟอร์ม คือแพลตฟอร์มเครื่องมือการพัฒนา และบริหารจัดการแอพแบบครบวงจร ลดงาน ลดขั้นตอน และลดคนในกระบวนการพัฒนาสูงสุดถึง 90% เร็วขึ้น ง่ายขึ้นสูงสุดถึง 90%